รวมเทรนด์ ลดน้ำหนัก ที่สุดปังในปีนี้
เริ่มต้นลดน้ำหนัก เลือกลดแบบไหนดี
1.Ketogenic Diet
กินไขมันเพื่อลดไขมันคือการกินอาหารไขมันสูง รองมาด้วยโปรตีน และลดการกินคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ร่างกายดึงเอาไขมันที่สะสมมาใช้เป็นพลังงาน
ข้อดี
–ลดน้ำหนักได้เร็ว ในช่วงแรก
-ร่างกายดึงไขมันออกมาใช้เป็นพลังงานหลัก
–ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อเสีย
– สารอาหารไม่พอ เพราะจำกัดคาร์โบไอเดรต
–อาจทำคลื่นไส้ มีกลิ่นปาก อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ
-ไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ ตับอ่อน
คอเลสเตอรอลในเลือด หรือไขมันในเลือดสูง
-ไม่เหมาะกับคนอายุเยอะ เพราะอาจเป็นลมได้
2. โลว์คาร์บ (Low-carb / Low-carbohydrate )
กินคาร์บน้อยการลดน้ำหนักโดยการจำกัดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ในแต่ละวัน เพื่อควบคุมระดับอินซูลิน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ
**ขึ้นอยู่กับแต่ละแบบเช่น Atkins Diet, Protein Power, Zone Diet,SouthBeach Diet, Dunken Diet เป็นต้น
ข้อดี
- คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ช่วยลด ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล
- ช่วยลดน้ำหนักได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ไม่ฝืนธรรมชาติ
ข้อเสีย
- อาจจะขาดไฟเบอร์ จนมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย
- บางคนช่วงแรกอาจ มึนหัว เมื่อยล้า อ่อนเพลีย
เพราะได้รับคาร์โบไฮเดรตน้อยลง
3. Carnivore Diet
ขั้นกว่าของ Ketogenic Diet กินแต่เนื้อสัตว์ ตัดแป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ และเครื่องปรุงรสต่างๆ ใช้แค่เกลือในการปรุงอาหารเท่านั้น หิวเมื่อไรก็กิน
ข้อดี
- ทำให้น้ำหนักลดลงเร็ว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่แล้วแต่บุคคล)
- ช่วยลดระดับน้ำตาล/ ระดับไขมัน
- ไม่ต้องกังวลเรื่องแคลอรี่
ข้อเสีย
- หาอาหารกินยาก เพราะจำกัดการทาน รวมถึงเครื่องปรุง
- ท้องผูกเพราะขาดไฟเบอร์จากผัก/ผลไม้
- ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะน้ำตาลจะตกได้
- (ต้องอยู่ภายใต้การดูแลหมอ หรือนักโภชนาการ )
4. การนับแคลอรี่ (Calories count)
การควบคุมน้ำหนักแบบคำนวณพลังงานของอาหาร
คุมอาหารแบบคำนวนพลังงาน
ข้อดี
- สามารถเลือกทานอาหารได้อิสระ
- ไม่วิตกกังวลในการลดน้ำหนัก
ข้อเสีย
- สารอาหารอาจไม่ครบถ้ากินไม่ถูกต้อง
- เสียเวลาในการคำนวนอาหารแต่ละชนิด
เรียบเรียง : เพจออกจากความเป็นหมู
Credit :
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย วราภรณ์ จิตต์อำรีย์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร. รายการ Rama Channel. สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
https://www.onnit.com/academy/the-carnivore-diet/
ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล .Pleasehealth Books.2015
หนังสือ กินแก้กรรม โดย ผศ. ดร. ฉัตรภา หัตถโกศล ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคอลัมนิสต์ Food for Life นิตยสาร Gourmet & Cuisine