10 สาเหตุ “อ้วนขึ้น” นอกจากการกิน
1. ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเผาผลาญ และใช้พลังงานภายในร่างกาย หากระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ลดลง จะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
2. ภาวะซึมเศร้า เป็นอาการที่มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือโรคอ้วน และผู้ป่วยจะมีฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ที่ทำให้มีการสะสมของไขมันที่หน้าท้องเพิ่มขึ้นจึงเกิดเป็นโรคอ้วนตามมาได้
3. นอนไม่หลับ หรือนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะเสี่ยงต่อความอ้วนได้ เพราะเมื่อระยะเวลานอนน้อยลง ร่างกายจะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล และฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด จะกระตุ้นให้ร่างกายทำให้อยากกินอาหารโดยเฉพาะน้ำตาลและไขมัน
4. เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ฮอร์โมนเพศจะลดลงโดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีการสะสมของไขมันรอบหน้าท้องเพิ่มขึ้น
5. โรคคุชชิ่ง คือโรคที่มีฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายมากเกิน จากการที่ต่อมหมวกไต (ต่อมที่ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล) ทำงานมากไป ส่งผลให้มีการสะสมของไขมันที่หน้าท้องเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสะสมที่ต้นคอ ทำให้เกิดเป็นหนอกคล้ายหนอกอูฐขึ้นมาได้
6. โรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ การมีถุงน้ำในรังไข่ที่มากเกินไปยังสร้างฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ความไวต่อฮอร์โมนอินซูลินลดลง ทำให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้
7. ภาวะหัวใจล้มเหลว การที่หัวใจเต้นอ่อนลง เบาลง ทำให้ร่างกายสามารถสูบฉีดเลือดไปได้น้อย ทำให้เลือดจึงคั่งอยู่บริเวณที่ก่อนหัวใจจะบีบตัว น้ำหนักของร่างกายจึงเพิ่มขึ้นตามปริมาณเลือดที่คั่ง ซึ่งอาจเพิ่มขึ้น 2-3 กิโลกรัมภายใน 1 วัน หรือ 5 กิโลกรัมภายใน 1 สัปดาห์
8. อาการบวมน้ำ ภาวะนี้จะเกิดจากขึ้นได้เมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำที่มากเกินไป โดยเฉพาะบริเวณแขนและขา ทำให้บริเวณแขนและขาบวม แน่น และขยับได้ลำบากมากขึ้น แต่ไม่เป็นภาวะที่อันตรายหรือร้ายแรงมากนัก
9. กลุ่มอาการเมตาบอลิก คือชื่อเรียกรวมกันของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่มีความไม่สมดุลในการกินอาหาร การเผาผลาญสารอาหาร และการใช้พลังงานของร่างกาย ทำให้มีภาวะอ้วนลงพุง
ที่นอกจากการที่น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงหลายอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองเป็นต้น
10. ยารักษาโรคบางชนิด เนื่องจากยารักษาโรคต่างๆจะให้ประโยชน์ในการรักษาและควบคุมอาการแล้ว ยาหลายชนิดส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้จากที่ทั้งทราบและไม่ทราบกลไลของยา เช่นยาบางชนิดที่อาจไปกระตุ้นความอยากอาหารให้เพิ่มขึ้น ยาบางชนิดลดการเผาผลาญไขมันลง ตัวอย่างที่ทานแล้วน้ำหนักอาจจะเพิ่ม เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาป้องกันโรคลมชัก ยาความดันโลหิตสูงบางชนิด เป็นต้น
สรุป ระบบในร่างกายที่มีความผิดปกติบางอย่างอาจส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นควรหมั่นเช็กร่างกาย คุมอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายตามความเหมาะสม
อ้างอิง https://healthsmile.co.th
เรียบเรียง เพจออกจากความเป็นหมู