อยากลดน้ำหนัก นักกำหนดอาหารสำคัญยังไง?
ลดน้ำหนักให้ถูกวิธีต้องกินอาหารยังไง?
คำถามนี้นักกำหนดอาหารและนักโภชนาการตอบให้
กินถูกวิธี ผอมชัวร์ !!
📌สนใจวิธีลดหุ่นไม่ใช้ยา > m.me/pig2lady







ปกติแล้วนักกำหนดอาหารมักทำหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการอยู่ในห้องลับๆ ของรพ. จะได้เจอต่อเมื่อป่วยเป็นโรค NCDs และโรคอื่นๆ โดยคุณหมอต้องเป็นคนสั่งให้เจอเท่านั้น
แต่ในเพจออกจากความเป็นหมู ทุกคนจะได้รับคำแนะนำจากนักกำหนดอาหารและนักโภชนาการเรื่องการกินในทุกๆ วัน จนจบคอร์ส
“นักกำหนดอาหาร” กับ “นักโภชนาการ” ต่างกันยังไง?
“นักโภชนาการ” คือ ผู้ที่จบการศึกษาด้านโภชนาการ และเป็นผู้มีความรู้ในการดูแลจัดบริการอาหารสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และสามารถให้คำแนะนำโภชนาการทั่วไปได้ แต่เมื่อใดที่มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลจนถึงขั้นมีความรู้ความชำนาญเพียงพอ ก็สามารถขอสอบเพื่อขึ้นทะเบียนรับรองเป็น “นักกำหนดอาหารวิชาชีพ” ได้นั่นเอง
รู้ลึกนักกำหนดอาหารเพจออกจากความเป็นหมู
นักกำหนดอาหาร (Dietitian) คือใคร?
ผู้ที่นำความรู้ทางด้านอาหารและโภชนาการมากำหนดปริมาณอาหารและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีวิชาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เน้นความเชี่ยวชาญลงลึกในเรื่องเกี่ยวกับโภชนาการและอาหารที่เหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีม “สหสาขาวิชาชีพ” โดยทำหน้าที่หลักคือ ประเมินภาวะโภชนาการ คำนวณความต้องการพลังงานสารอาหาร และ กำหนดปริมาณที่เหมาะสม
กว่าจะมาเป็นนักกำหนดอาหารเพจออกจากความเป็นหมู
“นักกำหนดอาหาร” ต้องผ่านการศึกษาอบรมอย่างรอบด้านในวิชาชีพจนมีความรู้ความเข้าใจหลายด้านตั้งแต่ โภชนาการและโภชนบำบัด ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสภาวะของโรคต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการเกิดโรค และความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับยาบางชนิด ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นผู้ที่จบการศึกษาทางด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านโภชนบำบัด โดยได้ผ่านการฝึกงานหรือมีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลตามข้อกำหนดของ “สมาคมนักกำหนดอาหาร” และผ่านการสอบรับรองวิชาชีพเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพที่เรียกว่า ‘Certified Dietitian of Thailand-CDT’ ในประเทศไทย ฟังดูแล้วไม่ง่ายเลยใช่มั้ยล่ะ?
ยกตัวอย่างเคสการดูแลของนักกำหนดอาหารและนักโภชนาการ
เคสที่ 1 :
พี่ A : ชอบกินเส้นก๋วยเตี๋ยวมาก แต่อยากลดน้ำหนัก ต้องทำยังไง?
นักกำหนดอาหารและนักโภชนาการ : บอกพลังงานของแต่ละเส้น พร้อมบอกวิธีกินในแต่ละมื้อ เพื่อให้ลดน้ำหนักได้แบบมีสุขภาพดี
เคสที่ 2 :
พี่ B : เป็นโรคเบาหวานและไขมัน เข้าคอร์สลดนน.สายบำบัดโรค NCDs
นักกำหนดอาหารและนักโภชนาการ : แนะนำให้ความรู้ว่าอาหารชนิดไหนมีน้ำตาลแฝงสูง และควรใช้น้ำมันชนิดไหนในการปรุงอาหาร
เคสที่ 3 :
พี่ C : เพิ่งคลอดลูกมาไม่นาน ต้องให้นมลูก แต่ก็อยากรักษาหุ่น
นักกำหนดอาหารและนักโภชนาการ : บอกวิธีลดน้ำหนักสำหรับคุณแม่มือใหม่ ทริคลดหน้าท้อง พร้อมเพิ่มคุณภาพน้ำนมของคุณแม่ให้ดีขึ้น
สรุป
“นักกำหนดอาหาร” รับบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการเพื่อสร้างความเข้าใจในการกินให้ถูกต้อง เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี รักษารูปร่างให้สมส่วนนั่นเอง
ทีนี้รู้แล้วใช่มั้ยล่ะว่านักกำหนดอาหารและนักโภชนาการจากเพจออกจากความเป็นหมูสำคัญยังไง…
ทริคเจ๊หมูเพิ่มเติม
ผอมไวกว่าแค่รู้จัก BMR , BMI , TDEE
BMR และ TDEE นี่แหละจะบอกให้รู้ว่าควรกิน และ ออกกำลังกายมากน้อยเท่าไร
BMR (Basal Metabolic Rate) คือ ปริมาณการใช้พลังงานขั้นพื้นฐานของแต่ละคนใน 1 วัน (ต่อให้ไม่ขยับตัวไปไหนเลย)
วิธีการคำนวณ (หน่วย/กิโลกรัม/น้ำหนักตัว)
ผู้หญิง BMR = 665 + (9.6 X น้ำหนักตัว) + (1.8 x ส่วนสูง) – (4.7 x อายุ)
ผู้ชาย BMR = 66 + (13.7 X น้ำหนักตัว) + (5 x ส่วนสูง) – (6.8 x อายุ)
TDEE (Total Daily Energy Expenditure) คือ ปริมาณการใช้พลังงานของแต่ละคนใน 1 วัน บางคนเคลื่อนไหวเยอะ ออกกำลังกายหนัก ร่างกายก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้น
วิธีการคำนวณ
ไม่ออกกำลังกายหรือทำงานนั่งโต๊ะ TDEE = BMR*1.2
ออกกำลังกายเบาๆ (1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) TDEE = BMR*1.375
ออกกำลังกายปานกลาง (3-5 ครั้งต่อสัปดาห์) TDEE = BMR*1.55
ออกกำลังกายหนัก (6-7 ครั้งต่อสัปดาห์) TDEE = BMR*1.725
ได้แล้วเอามาเทียบกับตาราง
ดัชนีมวลกาย BMI
น้อยกว่า 18.5 – น้ำหนักต่ำไป
18.5-22.9 – รูปร่างสมส่วน
23.0-24.9 – น้ำหนักเกิน
25.0-29.9 – เข้าข่ายโรคอ้วน
30 ขึ้นไป – อ้วนมาก
ถ้าเรารู้ BMI ก็เหมือนเรารู้ว่าร่างกายเราตอนนี้กำลังจะต้องเจอความเสี่ยง/โรคอะไรบ้าง
ดังนั้นมาลดน้ำหนักแบบถูกวิธี กับเพจออกจากความเป็นหมูดีกว่า
เรียบเรียงโดย : เพจออกจากความเป็นหมู
อ้างอิง : รพ.รามคำแหง
mysix.co.th/article/bmr-tdee