โรคกินไม่หยุด ใช่คุณหรือป่าว?

ใครที่มีอาการแบบนี้..
กินเก่ง อยากกินตลอด ไม่หิวก็กินได้ อ่านเลย!
โรคกินไม่หยุด อาจเป็นคุณ !!!
📌สนใจวิธีลดหุ่นไม่ใช้ยา > m.me/pig2lady

โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder (BED) 

คือ โรคที่มีอาการกินมากผิดปกติโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ กินได้แม้ไม่รู้สึกหิว จนอิ่มแน่นท้องและไม่สามารถกินต่อได้ และผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกรังเกียจหรือโกรธตัวเองที่กินมากเกินไปหลังกินอาหารเสร็จ

โรคนี้เกิดได้กับคนทุกช่วงวัย แต่ที่พบบ่อยสุด คือ ช่วงอายุ 20 ตอนต้นถึงตอนปลาย

 

อาการของโรคกินไม่หยุด

  1. กินเยอะ คุมตัวเองไม่ได้ จนแน่นท้องกินต่อไม่ไหว

  2. ไม่ลดความอ้วน ไม่ออกออกกำลังกาย ไม่ใช้ยาระบาย หรือล้วงคออ้วก

  3. มีพฤติกรรมกักตุนอาหารไว้ในที่ต่างๆ ใกล้ตัว
  4. ความถี่ของอาการกินไม่หยุดมีอาการตั้งแต่ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป
  5. ชอบกินอาหารคนเดียว เพราะรู้สึกอายเวลากินอาหารปริมาณมากต่อหน้าคนอื่น
  6. หลังจากกินมักรู้สึกผิด เศร้า โกรธ ละอายใจ รังเกียจ หรือโทษตนเองที่กินมากเกินไป

 

สาเหตุของโรคกินไม่หยุด
ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริง แต่คาดว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้ เช่น

  1. เป็นโรคอ้วน โดยผู้ที่มีอาการของโรคกินไม่หยุดกว่าครึ่งหนึ่งมักมีโรคอ้วนเป็นโรคประจำตัว แต่อาการของโรคนี้ก็อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้เช่นกัน
  2. จากการศึกษาพบว่าโรค BED พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่เพศชายก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดได้
  3. มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  4. ขาดความมั่นใจ และไม่พอใจรูปร่างตัวเอง
  5. เคยมีประวัติเสพติดการลดน้ำหนัก เครียดกับการลดน้ำหนัก หรือเคยล้มเหลวในการลดน้ำหนัก
  6. เคยผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ อย่างการสูญเสียครอบครัว ประสบอุบัติเหตุ หรือถูกทำร้าย
  7. คนในครอบครัวมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคการกินผิดปกติ
  8. มีภาวะทางจิต อย่างภาวะซึมเศร้า โรคเครียด โรคไบโพลาร์ โรคกลัว และภาวะป่วยทางจิตหลังเหตุการณ์รุนแรง
  9. ภาวะไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อย่างเลปติน (Leptin) และเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความหิวที่หลั่งออกมามากผิดปกติ

 

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคกินไม่หยุด

  1. เสี่ยงปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ กรดไหลย้อน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น

  2. เกิดความรู้สึกแปลกแยก ไม่อยากเข้าสังคม ซึ่งเมื่ออารมณ์เหล่านี้รุนแรงขึ้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไปจนถึงภาวะทางจิตชนิดอื่น เช่น ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือ โรคไบโพลาร์

 

การรักษาโรคกินไม่หยุด

  1. ใช้ยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองและป้องกันอาการของโรค

  2. เข้ารับจิตบำบัด เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในอาการของโรค เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์ด้านลบที่ส่งผลให้เกิดอาการของโรค

  3. การลดน้ำหนัก ซึ่งแพทย์อาจแนะนำวิธีลดน้ำหนักภายหลังจากการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปมีอาการอีก โดยแพทย์และนักโภชนาการจะให้ความรู้เกี่ยวกับการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง ทั้งปริมาณ สารอาหาร และการออกกำลังกาย ซึ่งการลดน้ำหนักไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันกลับไปมีอาการของโรคซ้ำแล้ว ยังอาจช่วยให้คนไข้มีรูปร่างที่ดีขึ้นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองมากขึ้น

 

เรียบเรียงโดย : เพจออกจากความเป็นหมู

อ้างอิง : https://www.pobpad.com/binge-eating-disorder
: Review of the drug treatment of binge eating disorder ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี