คนอ้วนหรือคนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่ามาตรฐานหลายเท่า
มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนผอม 113%
มีโอกาสนอนไอซียูจากการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนผอม 74%
มีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนผอม 48%
5 ปัจจัยเสี่ยงคนอ้วนกับโรคโควิด-19
- 1. โรคประจำตัวทำให้เกิดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 ง่ายขึ้น เนื่องจากความอ้วนส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
- ทำให้มีปริมาณไขมันสะสมในช่องท้อง ซึ่งปริมาณไขมันสะสมจำนวนมากจะดันกระบังลมขึ้นไปเบียดกับขนาดของปอด ส่งผลให้ปอดมีขนาดเล็กลง นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายและหายใจลำบาก
- ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขา อาจมีสาเหตุมาจากการไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือนั่งเป็นเวลานาน ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณดังกล่าวได้ อีกทั้งสามารถลุกลามไปอุดตันที่ปอด สมอง หรือหัวใจ
- ความอ้วนเกิดจากการเลือกกินอาหารไขมันและแคลอรี่สูง ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเกินความต้องการก็จะสะสมในรูปแบบไขมัน อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ ทำให้มีผลนำไปสู่โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
5. ความอ้วนทำให้ระดับภูมิคุ้มกันน้อยกว่าปกติ จากงานวิจัยพบว่า เมื่อคนอ้วนเข้ารับการรักษา เช่น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ร่างกายจะตอบสนองต่อวัคซีนน้อยกว่าคนน้ำหนักปกติ
4 ข้อปฏิบัติป้องกันโรคโควิด-19
- สวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของ
2.หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
- ลดน้ำหนักตัวลงอย่างน้อย 10% ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน เพราะจะทำให้ความเสี่ยงลดลงไปเยอะมาก
- ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เนื่องจากคนอ้วนมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติที่มีน้ำหนักตัวทั่วไป
สรุป นอกจากวัคซีนจะเป็นทางออกและความหวังเดียวที่ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ดีที่สุดแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงควบคู่ไปก็จะช่วยส่งผลดีต่อร่างกายให้มีเกราะที่แข็งแกร่งมากขึ้น
เรียบเรียงโดย : เพจออกจากความเป็นหมู
อ้างอิง : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30569